ความรู้/ข่าว Archives - Page 2 of 6 - สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลง

ขอเชิญชวนเข้าร่วมส่งภาพถ่ายเข้าประกวดในหัวข้อ “แมลงและสัตว์รบกวนภายในครัวเรือน (ปลวก มด แมลงสาบ หนู ยุง แมลงวัน)”

📣 สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลง TPMA ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมส่งภาพถ่ายเข้าประกวด ในโครงการการประกวดภาพถ่ายแมลง และสัตว์รบกวนภายในครัวเรือน ในหัวข้อ “แมลงและสัตว์รบกวนภายในครัวเรือน (ปลวก มด แมลงสาบ หนู ยุง แมลงวัน)” เพื่อเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความเข้าใจและร่วมมือกัน ในการสอดส่องปัญหาจากแมลงและสัตว์รบกวน . 📍 ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 40,000 บาท 📍 เปิดรับผลงานเข้าประกวดตั้งแต่วันนี้ – 31 พ.ค. 2567 📍 ประกาศผลการประกวดวันที่ 25 มิ.ย. 2567 . ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ . ศึกษากติกาเพิ่มเติม . ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมจากสมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลง 📌 สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลง โทร. 02-722-1172-3  

อ่านต่อ
รู้ทัน “ไข้เลือดออก” ภัยร้ายจากยุงลาย

โรคไข้เลือกออก ภัยน่ากลัวที่ทำให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มในช่วงฤดูฝน ซึ่งโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ที่มีถึง 4 สายพันธุ์ด้วยกัน โดยมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะของโรค หากถูกยุงลายกัดจะได้รับเชื้อผ่านต่อมน้ำลายของยุงแล้วมีระยะฟักตัว 2-7 วัน ( นานสุด 15 วัน) อาการโรคไข้เลือดออก (แบ่งเป็น 3 ระยะ) ระยะแรก ไข้สูงเฉียบพลัน 2-7 วัน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นแดงตามตัว ผิวหนังมีจุดเลือดออก ระยะวิกฤติ ไข้ลด กระสับกระส่าย อาเจียนมาก ปัสสวะน้อย ความดันโลหิตต่ำ ปลายมือปลายเท้าเย็น อาจมีเลือดออกในกระเพาะ ระยะฟื้น ความดันโลหิตดีขึ้น ปัสสาวะออกมากขึ้น มีผื่นแดงและคันตามปลายมือ ขา ปลายเท้า เริ่มรับประทานอาหารได้ การรักษาโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันยังใช้การรักษาตามอาการเนื่องจากยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสไข้เลือดออก ดังนั้นแพทย์จะรักษาโดยประคับประคองให้ร่างกายผู้ป่วยให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ดังนั้นการป้องกันตัวเองจากโรคไข้เลือดออกจึงเป็นวิธีที่ดีสุดนั่นเอง

ยุงวายร้าย ภัยฤดูฝน

ยุงลายบ้านและยุงลายสวน เป็นที่รู้กันว่าเป็นพาหะของไข้เลือดออก โรคนี้ระบาดในแถบเอเชียตะวันออกฉียงใต้ มีรายงานพบผู้ป่วยปีละ 50 ล้านคน เสียชีวิตปีละ 25,000 คน และประเทศไทยมักพบการระบาดในทุก 2-4 ปี อาการของไข้เลือดออกที่พบคือ มีไข้สูงเฉียบพลัน อาจียน รับประทานอาหารไม่ได้ ตับโต และอาจมีเลือดกำเดาออก พบการเปลี่ยนแปลงทางเกร็ดเลือด และมีรั่วของเหลวออกจากหลอดเลือด จึงจัดเป็นโรคติดต่ออันตราย เพราะอาจทำให้เกิดการช็อกเป็นอัตรายถึงแก่ชีวิตได้ โรคนี้มีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ มียุงลายสวนเป็นพานะนำเชื้อไวรัสเดงกี ยุงจะมีเชื้อตลอดชีวิต และผลการวิจัยพบว่ายุงที่มีเชื้อสามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสเดงกีไปยังลูกหลานได้ ซึ่งเชื้อนี้มี 4 ซีโรทัยป์ ได้แก่ เดงกี 1,เดงกี 2,เดงกี 3,เดงกี 4 การติดเชื้อเกิดจากถูกยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีกัด ในการติดเชื้อเดงกีครั้งแรกมักจะไม่แสดงอาการ หรือหากมีอาการจะมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นหรือจุดเลือดออกที่ผิวหนัง แต่ไม่กี่วันก็หายไปเอง ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้นไปตลอดชีวิต แต่ยังสามารถเป็นไข้เลือดออกได้อีก หากติดเชื้อไวรัสเดงกีต่างชนิดกับครั้งแรก การติดเชื้อซ้ำด้วยไวรัสเดงกีต่างชนิดกันมักจะทําให้เกิดโรคไข้เลือดออก เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่มีในครั้งแรกไปกระตุ้นให้มีการเพิ่ม ปริมาณของไวรัสชนิดหลัง และนําไวรัสเข้าสู่เซลล์ เป็นผลให้มีไวรัสปริมาณมากในร่างกายของผู้ป่วย นอกจากนี้พบว่าเซลล์ภูมิคุ้มกันเกิดการตายแบบทําลายตัวเองทําให้ภูมิคุ้มกันลดลง อาการของผู้ป่วยแต่ละรายรุนแรงต่างกัน หากรักษาไม่ทันอาจทําให้ถึงแก่ชีวิตได้ การใช้สารในกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง […]